12 เคล็ดลับ “พิมพ์แบรนด์” บนของพรีเมียม ให้ลูกค้าประทับใจตั้งแต่แรกเห็น

12 เคล็ดลับ "พิมพ์แบรนด์" บนของพรีเมียม ให้ลูกค้าประทับใจตั้งแต่แรกเห็น

ก่อนที่คุณจะสั่งผลิตของขวัญหรือสินค้าพรีเมี่ยมสำหรับองค์กร สิ่งหนึ่งที่ไม่ควรมองข้ามคือ “เทคนิคการพิมพ์” เพราะนอกจากจะช่วยให้แบรนด์ดูโดดเด่นและจดจำง่ายแล้ว ยังช่วยสะท้อนบุคลิกของแบรนด์คุณออกมาได้อย่างชัดเจน

วันนี้ ZENITH ได้รวบรวม 12 เทคนิคการพิมพ์ที่นิยมใช้ในงานพรีเมี่ยม พร้อมคำแนะนำว่าเทคนิคไหนเหมาะกับวัสดุอะไร สามารถสร้างอารมณ์ความรู้สึกแบบใดได้บ้าง เพื่อให้คุณเลือกเทคนิคได้ตรงกับสิ่งที่อยากสื่อสารออกไปได้มากที่สุด

 

1. เทคนิคการปั๊มจม (Debossing) เป็นการกดแม่พิมพ์ให้เกิดรอยลึกลงบนพื้นผิววัสดุ เหมาะกับวัสดุเนื้อนุ่ม เช่น หนังเทียม PU, ผ้าลินิน หรือกระดาษฝ้าย สามารถทำได้ทั้งแบบไม่มีสี (Blind Deboss) หรือร่วมกับการพิมพ์สีหรือเทคนิคอื่น ๆ เพื่อเพิ่มมิติและความสวยงาม งานพิมพ์ที่ได้จะให้ความรู้สึกเรียบหรูและมีระดับยิ่งขึ้น

 

Embossing

2. เทคนิคการปั๊มนูน (Embossing) เป็นเทคนิคที่ใช้แรงกดจากแม่พิมพ์ให้พื้นผิววัสดุนูนขึ้นตามแบบ โดยสามารถเลือกใช้แบบไม่พิมพ์สีร่วม (Blind Emboss) หรือพิมพ์ร่วมกับสี, ฟอยล์ หรือเทคนิคอื่น ๆ ได้ เหมาะกับวัสดุหลายชนิด เช่น หนังเทียม PU, ผ้าลินิน หรือกระดาษฝ้าย แม้เทคนิคนี้จะใช้เวลาผลิตนานและมีต้นทุนสูง แต่ก็สามารถยกระดับให้งานพิมพ์ดูหรูหราและพรีเมียมได้อย่างดี

 

Foiling

3. เทคนิคการปั๊มฟอยล์ (Foiling) เป็นเทคนิคที่ใช้ความร้อนและแรงกดในการถ่ายโอนแผ่นฟอยล์โลหะบางลงบนพื้นผิววัสดุ เพื่อเพิ่มคุณสมบัติการสะท้อนแสงสามารถพิมพ์ได้บนหลายวัสดุ เช่น กระดาษ, หนังเทียม PU, ผ้า หรือพลาสติก และยังสามารถใช้ร่วมกับเทคนิคอื่น ๆ ได้อีกด้วย เทคนิคนี้ช่วยให้งานพิมพ์มีความหรูหรา ทันสมัย น่าเชื่อถือ และประทับใจทุกครั้งที่ได้สัมผัส

 

Digital Printing

4. เทคนิคการพิมพ์ดิจิทัล (Digital Printing) เป็นเทคนิคการพิมพ์ที่ส่งไฟล์ดิจิทัลจากคอมพิวเตอร์เข้าสู่กระบวนการพิมพ์โดยตรงโดยไม่ต้องทำเพลต เหมาะสำหรับงานพิมพ์จำนวนน้อย งานคัสตอม แม้คุณภาพอาจไม่เทียบเท่าการพิมพ์ออฟเซต แต่สามารถผลิตได้รวดเร็วและยืดหยุ่น รองรับวัสดุได้หลากหลาย ทั้งกระดาษแข็ง ผ้าลินิน พลาสติก และหนังเทียม PU ให้ความรู้สึกทันสมัย คล่องตัว และตอบโจทย์การผลิตในยุคดิจิทัล

 

Offset Printing

5. เทคนิคการพิมพ์ออฟเซต (Offset Printing) เป็นเทคนิคการพิมพ์คุณภาพสูงที่ให้สีสันและรายละเอียดที่คมชัด สม่ำเสมอ เหมาะสำหรับงานพิมพ์ปริมาณมาก และสามารถพิมพ์ลงบนวัสดุหลากหลายชนิด เช่น กระดาษ พลาสติก รวมถึงรองรับการใช้หมึกพิเศษ เพื่อเพิ่มความหลากหลายในการออกแบบ ให้ความรู้สึกเป็นมืออาชีพ มีมาตรฐานสูง น่าเชื่อถือ

 

Laser Printing

6. เทคนิคการพิมพ์เลเซอร์ (Laser Printing) เป็นการพิมพ์แบบดิจิทัลที่ใช้แสงเลเซอร์ในการสร้างภาพบนกระดาษ จะได้งานพิมพ์ที่มีคุณภาพสูง ทนต่อรอยขีดข่วนและความชื้น เหมาะสำหรับงานกราฟิกที่ต้องการความชัดเจน วัสดุที่ใช้ควรมีผิวเรียบและทนความร้อนได้ดี เช่น หนังเทียม PU, กระดาษอาร์ต หรือกระดาษกล่องแป้งผิวเรียบ งานพิมพ์ที่ได้จะให้ความรู้สึกเรียบร้อย เป็นทางการ มีความชัดเจน

 

UV Printing

7. เทคนิคการพิมพ์ยูวี (UV Printing) เป็นการพิมพ์ลงบนพื้นผิววัสดุโดยตรง จากนั้นใช้แสง UV (Ultra Violet) ทำให้หมึกแห้งทันที ทำให้ได้งานพิมพ์ที่มีสีสันคมชัด พิมพ์ได้ไม่จำกัดสี และมีลักษณะผิวนูนเงา ช่วยเพิ่มมิติและความสวยงามให้กับชิ้นงาน เหมาะกับวัสดุหลากหลาย เช่น หนังเทียม PU, กล่องลูกฟูก และวัสดุผิวเรียบอื่น ๆ งานพิมพ์ที่ได้จะให้ความทันสมัยและพรีเมี่ยมยิ่งขึ้น

 

Metallic Inks Printing

8. เทคนิคการพิมพ์หมึกเมทัลลิก (Metallic Inks Printing) เป็นเทคนิคที่ใช้หมึกพิเศษซึ่งมีส่วนผสมของเกล็ดโลหะ เพื่อให้เกิดความแวววาวคล้ายโลหะบนพื้นผิว โดยกระดาษที่เคลือบและมีผิวเรียบจะให้ผลลัพธ์ได้ดีที่สุด เหมาะสำหรับงานที่ต้องการเน้นรายละเอียด ความหรูหรา และความโดดเด่น

 

Spot UV Varnish

9. เทคนิคการเคลือบสปอตยูวี (Spot UV Varnish) เป็นการเคลือบสารยูวีเฉพาะจุดบนพื้นผิววัสดุ เพื่อเน้นให้บริเวณที่เคลือบมีความเงางาม แตกต่างจากผิวส่วนอื่น โดยสามารถใช้ได้กับกระดาษทั้งหนาและบาง แต่ไม่เหมาะกับกระดาษที่บางมากหรือมีพื้นผิวละเอียดเป็นพิเศษ เมื่อใช้เทคนิคนี้จะช่วยเพิ่มความรู้สึกโดดเด่น พรีเมี่ยม และความน่าสนใจให้กับงานพิมพ์

 

Glow-in-the-Dark Printing

10. เทคนิคการพิมพ์สารเรืองแสง (Glow-in-the-Dark Printing) เป็นการพิมพ์ด้วยวัสดุที่สามารถดูดซับพลังงานแสงและปล่อยแสงออกมาในที่มืด เทคนิคนี้ควรทำบนกระดาษเคลือบเท่านั้น โดยจะให้ความรู้สึกสนุกสนาน แปลกใหม่ และเพิ่มความโดดเด่นให้กับงานพิมพ์

 

Thermography

11. เทคนิคการพิมพ์แบบเทอร์โมกราฟี (Thermography) เป็นการพิมพ์ที่ทำให้ตัวอักษรหรือลวดลายบนพื้นผิวมีลักษณะนูนคล้ายการแกะสลัก โดยใช้ความร้อนกับผงเรซิน เทคนิคนี้ให้ผลงานที่ได้ดูสวยงาม มีความหรูหรา แต่อาจไม่เหมาะกับกระดาษที่มีความหนามาก เนื่องจากหมึกอาจซึมได้ไม่ทั่ว

 

12. เทคนิคการไดคัท (Die-Cutting) เป็นการตัดวัสดุให้เป็นรูปทรงเฉพาะ สามารถออกแบบได้ตามความต้องการ ช่วยเพิ่มความน่าสนใจและความสร้างสรรค์ให้กับงานพิมพ์ กระดาษที่ใช้เทคนิคนี้ควรมีความหนามากกว่าวัสดุที่ใช้ทำเนื้อด้านใน เพื่อให้ปกมีความแข็งแรงและทนทานให้ความรู้สึกสร้างสรรค์ มีเอกลักษณ์ ทันสมัย

 

เทคนิคการพิมพ์ที่ “ใช่” สื่อสารแบรนด์ได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

เพราะงานพิมพ์ไม่ได้แค่ใส่โลโก้ลงไป แต่คือการส่งต่ออารมณ์ ความรู้สึก และตัวตนของแบรนด์ Zenith พร้อมเป็นที่ปรึกษาในทุกขั้นตอน ตั้งแต่การเลือกเทคนิค วัสดุ ไปจนถึงการออกแบบและผลิตของขวัญพรีเมี่ยมที่สะท้อนภาพลักษณ์องค์กรได้อย่างมืออาชีพ

สนใจอยากผลิตสินค้าพรีเมี่ยมกับเรา

รับออกแบบและผลิต Corporate Gifts งานสมุด งานบรรจุภัณฑ์ งานกล่อง ของที่ระลึก และ Premium Stationery

คุยกับ นลิน ดำรงค์กิจการ เจ้าแม่กระดาษและนักทำสมุดวัย 60 ปี เจ้าของแบรนด์ Zequenz สมุดสัญชาติไทยที่ได้ใจคนรักสมุดทั่วโลก

คุยกับ STUDIO360 จากร้านเครื่องเขียนสู่แบรนด์ไลฟ์สไตล์ที่อยากเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตผู้คน